เมื่อเราพูดถึง fluorescence เราจะหมายถึงการเรืองแสงของเพชรภายใต้แสง UV เช่น ใต้แสง blacklight เพชรที่มี fluorescence จะมีประกาย เรืองแสงออกมาโดยมากเป็นสีฟ้า/น้ำเงิน ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของ fluorescence โดยถ้ามีมาก(strong) ก็จะมีประกายเรืองแสง เป็นสีน้ำเงินเข้มออกมา
ในเพชรที่มีสีอมเหลืองนั้น fluorescence จะช่วยให้เพชรดูขาวขึ้น แต่ในเพชรที่ขาวอยู่แล้ว เพชรเม็ดนั้นอาจจะดูเหมือนมีฝ้าอยู่ในเนื้อเพชร แต่หลายๆครั้งไม่มีผลต่อประกายเพชรมากมายนัก
Platinum คือ โลหะอีกชนิดหนึ่งที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับโลหะทอง เป็นโลหะ คนละชนิดกันและเป็นโลหะที่มีราคาสูงกว่าทองคำพอสมควร ทองคำขาว มีจุดหลอมเหลวที่สูงกว่าทองคำจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ไม่ค่อยมีคนนำโลหะชนิดนี้มาประกอบเป็นเครื่องประดับในบ้านเราเท่าไหร่ และไม่ค่อยมีคนรับซื้อเช่นกัน

โดยปรกติแล้ว เครื่องประดับเพชรในบ้านเรา นิยมใช้ทองคำกับ ทองขาว รวมไปถึงทองชมพู(pink gold) เวลาผู้บริโภคซื้อ ก็จะนิยมเป็นทองคำ เพราะสามารถขายต่อได้ในราคาตลาดง่ายกว่าทองคำขาว (platinum) นอกจากนั้นทองคำนั้นสามารถนำมาชุบเป็นสีขาวได้ด้วยและไม่ลอกง่าย ส่วนทองขาวเมื่อนำมาชุบทองแล้วไม่นานก็จะลอกต้องนำไปชุบเรื่อยๆ
เกิดจากการนำทองคำ(สีเหลือง)มาผสมโลหะชนิดอื่นเพื่อให้เกิดเป็น ทองคำที่มีสีขาว ทองขาวนั้นในตัวเองจะไม่ได้มีสีเงา จะมีสีออกสีขาวเทาด้านๆ การจะทำให้เงานั้นทำได้โดยนำไปชุบด้วย โรเดียม(Rhodium) แล้วทองขาวกับทองคำอย่างไหนแพงกว่ากัน ก็ต้องตัดสินกันด้วยเปอร์เซนต์ของทองคำ เช่น ทองขาว 14 k ราคาก็จะถูกกว่า ทองคำ 18 k เป็นต้น
Carat weight (น้ำหนัก)
     Carat กะรัต คือหน่วยวัด น้ำหนักของเพชร โดย 1 กะรัต ยังเท่ากับ 100 point (คนไทยเรียกว่า ตังค์) เช่น เพชรขนาด 0.50
     กะรัต คือ 50 ตังค์ อาจจะเทียบเป็นน้ำหนักทั่วไปหน่วยมาตรฐานได้โดยเพชร 1 กะรัต เท่ากับ 200 มิลลิกรัม หรือ 5 กะรัต
     เท่ากับ 1 กรัม
     เพชรขนาดยิ่งใหญ่ จะยิ่งหายาก และยิ่งมีมูลค่าสูง โดยปกติแล้ว เพชรขนาดใหญ่ขึ้น สองเท่า ราคาต่อกะรัต
     จะเพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่า เช่น เพชรขนาด 1 กะรัต 1 เม็ด จะมีราคาสูงกว่าเพชรครึ่งกะรัตคุณภาพเดียวกัน สองเม็ด

น้ำหนักเป็นสิ่งที่ง่ายที่สุดในบรรดา 4 คุณลักษณะ สำหรับเพชรร่วงที่ยังไม่ได้เข้าเรือน สามารถนำไปชั่งในเครื่องชั่งได้
โดยหน่วยน้ำหนักของเพชรเรียกว่า กะรัต(carat) ส่วนเศษของกะรัต จะเรียกว่าสตางค์หรือตังค์(points)โดย 100 ตังค์เท่ากับ 1
กะรัต เช่น เพชรน้ำหนัก 2 กะรัต, เพชร 30 ตังค์ เป็นต้น น้ำหนักของเพชรมีผลต่อราคาเพชร
โดยเพชรเม็ดใหญ่ราคาต่อกะรัตจะมากกว่าเพชรเม็ดเล็ก เช่น เพชร 1 เม็ดน้ำหนัก 1 กะรัต จะมีราคาสูงกว่า เพชร 1
ตังค์ หนัก 1 กะรัตสองเท่า เช่น เพชรขนาด 1 กะรัต 1 เม็ดจะมีราคาสูงกว่าเพชร ครึ่งกะรัต คุณภาพเดียวกัน สองเม็ด


Cut (การเจียระไน)
เพชรที่ได้รับการเจียระไนให้ได้เหลี่ยมดีจะให้ประกายแสงและการสะท้อนแสงที่ดี (หรือที่คนไทย นิยมเรียกกันว่า ไฟดีนั่นเอง)
นอกจากนั้น cut ยังหมายรวมถึง รูปร่าง ของเพชร เช่น เพชรกลม เพชรสี่เหลี่ยม เป็นต้น การเจียระไน ของเพชรมีผลต่อ
ราคาเพชรเช่นกัน


Clarity (ความสะอาด)
โดยปรกติธรรมชาติเพชรแล้ว เพชรมักมีตำหนิ เพชรที่มีตำหนิน้อยหรือไม่มีเลยนั้นหาค่อนข้างยากจึงทำให้มีราคาสูง โดยตำหนิ
ของเพชร ยังแบ่งได้หลายระดับขึ้นอยู่กับ ขนาด,ชนิดและจำนวน ตำหนิในเนื้อเพชร โดยสากลแล้ว สามารถแบ่งความสะอาด
ออกได้ดังนี้

ความสะอาดสูงสุดคือไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องขยายระดับ 10 เท่า ความสะอาดระดับนี้ราคาจะแพงที่สุด
มีตำหนิเล็กน้อยมองเห็นได้ยากจากกล้องขยาย 10 เท่า
ตำหนิในเกรดนี้จะเริ่มเห็นได้ง่ายขึ้นด้วยกล้องขยาย 10 เท่า
ตำหนิในเกรดนี้จะสามารถมองเห็นได้ง่ายด้วยกล้องขยาย 10 เท่า และในบางเม็ดจะสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
ตำหนิในเกรดนี้จะสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เพชรในเกรดนี้ ไม่ค่อยนิยม เนื่องจากตำหนิเยอะ และใหญ่สามารถ
มองเห็น ได้ด้วยตาเปล่าและมีผลอย่างมากต่อประกาย และการสะท้อนแสงของเพชร ส่วนเพชร ที่ตำหนิมากๆ
มักจะในไปใช้ในอุตสาหกรรมอื่นมากกว่าอุตสาหรรมเครื่องประดับ
Color (สี)
สี(หรือที่คนไทยเรียกว่าน้ำ)ของเพชรโดยธรรมชาติแล้วจะอมเหลืองมากน้อยแล้วแต่สสารที่ผสมในการเกิดเพชร เพชรที่มีสีขาว
จึงหาได้ยากกว่าและมีราคาสูงกว่าเพชรที่มีสีอมเหลือง โดยการแยกสี ของเพชรนั้นทำได้ โดยนำเพชรร่วง ไปเทียบ
กับเพชรต้นแบบ(master) และมักจะทำโดยผู้ชำนาญการเพราทำได้ยาก ส่วนเพชรที่เข้าตัวเรือนแล้ว การจะแยกสี นั้นทำได้
ค่อนข้างยาก

สีของเพชรแต่ละระดับมีผลต่อราคาของเพชร โดยทั่วไปแล้วสามารถแบ่งออกหลายระดับเริ่มตั้งแต่ D(100),E(99),F(98),G(97)
ไล่ลงไปเรื่อยๆ สีจะเริ่มเหลืองขึ้นเรื่อยๆทีละนิด จนกระทั่งถึงระดับที่เป็นเพชรสีเหลืองแฟนซี




สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก http://www.gia.edu/diamond